วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Diamond


In mineralogy, diamond is the allotrope of carbon where the carbon atoms are arranged in an isometric-hexoctahedral crystal lattice. Its hardness and high dispersion of light make it useful for industrial applications and jewelry. It is the hardest known naturally-occurring mineral. It is possible to treat regular diamonds under a combination of high pressure and high temperature to produce diamonds (known as Type-II diamonds) that are harder than the diamonds used in hardness gauges.[2] Presently, only aggregated diamond nanorods, a material created using ultrahard fullerite (C60) is confirmed to be harder, although other substances such as cubic boron nitride, rhenium diboride and ultrahard fullerite itself are comparable.
Diamonds are specifically renowned as a material with superlative physical qualities; they make excellent abrasives because they can be scratched only by other diamonds, borazon, ultrahard fullerite, rhenium diboride, or aggregated diamond nanorods, which also means they hold a polish extremely well and retain their lustre. Approximately 130 million carats (26,000 kg (57,000 lb)) are mined annually, with a total value of nearly USD $9 billion, and about 100,000 kg (220,000 lb) are synthesized annually.[3]
The name diamond derives from the ancient Greek ἀδάμας (adamas) "invincible", "untamed", from ἀ- (a-), "un-" + δαμάω (damáō), "to overpower, to tame". They have been treasured as gemstones since their use as religious icons in ancient India and usage in engraving tools also dates to early human history.[4][5] Popularity of diamonds has risen since the 19th century because of increased supply, improved cutting and polishing techniques, growth in the world economy, and innovative and successful advertising campaigns. They are commonly judged by the “four Cs”: carat, clarity, color, and cut.
Roughly 49% of diamonds originate from central and southern Africa, although significant sources of the mineral have been discovered in Canada, India, Russia, Brazil, and Australia. They are mined from kimberlite and lamproite volcanic pipes, which can bring diamond crystals, originating from deep within the Earth where high pressures and temperatures enable them to form, to the surface. The mining and distribution of natural diamonds are subjects of frequent controversy such as with concerns over the sale of conflict diamonds (aka blood diamonds) by African paramilitary groups.

Diamond


In mineralogy, diamond is the allotrope of carbon where the carbon atoms are arranged in an isometric-hexoctahedral crystal lattice. Its hardness and high dispersion of light make it useful for industrial applications and jewelry. It is the hardest known naturally-occurring mineral. It is possible to treat regular diamonds under a combination of high pressure and high temperature to produce diamonds (known as Type-II diamonds) that are harder than the diamonds used in hardness gauges.[2] Presently, only aggregated diamond nanorods, a material created using ultrahard fullerite (C60) is confirmed to be harder, although other substances such as cubic boron nitride, rhenium diboride and ultrahard fullerite itself are comparable.
Diamonds are specifically renowned as a material with superlative physical qualities; they make excellent abrasives because they can be scratched only by other diamonds, borazon, ultrahard fullerite, rhenium diboride, or aggregated diamond nanorods, which also means they hold a polish extremely well and retain their lustre. Approximately 130 million carats (26,000 kg (57,000 lb)) are mined annually, with a total value of nearly USD $9 billion, and about 100,000 kg (220,000 lb) are synthesized annually.[3]
The name diamond derives from the ancient Greek ἀδάμας (adamas) "invincible", "untamed", from ἀ- (a-), "un-" + δαμάω (damáō), "to overpower, to tame". They have been treasured as gemstones since their use as religious icons in ancient India and usage in engraving tools also dates to early human history.[4][5] Popularity of diamonds has risen since the 19th century because of increased supply, improved cutting and polishing techniques, growth in the world economy, and innovative and successful advertising campaigns. They are commonly judged by the “four Cs”: carat, clarity, color, and cut.
Roughly 49% of diamonds originate from central and southern Africa, although significant sources of the mineral have been discovered in Canada, India, Russia, Brazil, and Australia. They are mined from kimberlite and lamproite volcanic pipes, which can bring diamond crystals, originating from deep within the Earth where high pressures and temperatures enable them to form, to the surface. The mining and distribution of natural diamonds are subjects of frequent controversy such as with concerns over the sale of conflict diamonds (aka blood diamonds) by African paramilitary groups.

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรื่องของรองเท้าแปลก ๆ ที่สร้างโดยคนแปลก ๆ


ในบรรดาแฟชั่นเครื่องประดับประดาร่างกายของคนเรานั้น รองเท้าเป็น อย่างหนึ่งล่ะที่เป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา รวมทั้งจะต้องมีวิวัฒนาการให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเสื้อผ้าแพรพรรณ รองเท้าก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บางครั้งรองเท้าที่ประดับเพชรนิลจินดา ยังมีสนนราคาแพงเริดยิ่งกว่าเสื้อผ้าแพรพรรณหลายเท่าตัว
นายแกรี่ กรีนวูดส์ ช่างทำเครื่องหนัง คนดังของออสเตรเลีย คงนึกสนุกขึ้นมาจึงได้ออกแบบรองเท้าพิสดารปลายงอนยาวเฟื้อยขึ้นมา น่าคิดว่าคนออกแบบเพี้ยนไปซะมากกว่า เอ...แต่ที่เพี้ยนกว่าคนออกแบบก็คือคนที่ซื้อรองเท้านี้ไปใส่นั่นแหละ ที่เห็นในรูปน่ะเป็นตัวอย่างที่ทำขึ้นคู่เดียวในโลก ในข่าวไม่ได้บอกว่าราคาคู่ละเท่าไหร่ แต่เชื่อเหอะว่า ค่าหนังบวกค่าความคิดฝีมือและชื่อเสียงของนายแกรี่เข้าไปด้วย คำนวณแล้วคงเป็นจำนวนที่น่าตกใจเชียวละ
ไหนๆก็ตกใจเพราะเรื่องราคาแล้ว มาตกใจกันจริงๆซะเลยเป็นไงครับ เคยเห็นรึยังรองเท้าราคาสองล้านบาทน่ะ? ก็ฉลองพระบาทของจักรพรรดิโบกัสซ่า ผู้เคยยิ่งใหญ่อยู่ในแอฟริกากลาง ซึ่งเดี๋ยวนี้เสด็จตกจากบัลลังก์ไปเรียบร้อยแล้ว...ที่จริงฉลองพระ บาทคู่นี้แบบก็เรียบๆ ธรรมดาๆ ไม่วิจิตร พิสดารอย่างใด ทว่าความแพงมันอยู่ที่สิ่งประกอบอันเป็นไข่มุกแท้ๆ จำนวนประมาณ 4,000 เม็ด ดังนั้น ราคาจึงต้องตกในราว 85,000 ดอลลาร์!!!
ประวัติศาสตร์ของรองเท้าย้อนหลัง ไปนานเนิ่น สมัยไอยคุปต์ตอนต้นเมื่อห้าพันปีก่อนก็มีการสวมรองเท้ากันแล้ว เป็นรองเท้าแตะแบบคีบ ครั้นมาถึงสมัยกรีก รองเท้าจะมีเส้นสายรัดพันให้กระชับกับเท้ามากขึ้น แต่มาวิลิศมาหรามากก็ตอนในยุคโรมันครองโลก



ชาวโรมันโบราณเขาสวมรองเท้าบูตเชียวนา... รองเท้าบูตของคนสำคัญขึ้นไปจนถึงจักรพรรดิโรมันนั้น ประดับประดาสวยเก๋มาก ใครมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญแค่ไหน ดูจากรองเท้าได้เลย อย่างเช่นองค์จักรพรรดิจะสวมฉลอง พระบาทบูตหนังสีม่วง อันเป็นสีแห่งขัตติยราชโรมัน ประดับประดาด้วยลวดลายทองคำ, เพชรพลอย, ไหมทอง, ขนสัตว์ และรูปอันแสดงถึงอำนาจ เช่น หน้าสิงห์ เป็นต้น บางคู่ถึงกับทำด้วยทองคำและงาช้าง เวลาเสด็จไปทางไหนคงหนักพระบาทพิลึก สำหรับระดับขุนพลหรือข้าราชการตำแหน่งใหญ่ๆ จะสวมบูตสั้นกว่าของจักรพรรดิ ทำด้วยหนังสีแดง ส่วนซีเนเตอร์หรือสมาชิกสภาโรมันสวมรองเท้าสีดำประดับนิดหน่อยพองาม ชาวบ้านธรรมดาก็สวมแบบธรรมดาตามตำแหน่งอันธรรมดาๆของตน คือ แบบแตะที่มีระโยงระยางคล้ายรองเท้ากรีกนั่นแหละ
ผู้คนทางตะวันออกสมัยโบราณส่วนมากสวมรองเท้าปลายงอน ดูจากรองเท้าเทวดาของไทยๆก็ได้ ปลายงอนเช้งโดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ส่วนชาวตะวันออกกลางซึ่งแพร่ อารยธรรมบางอย่างให้กับยุโรปก็สวมรองเท้า ปลายงอนเหมือนกัน จึงไม่น่าแปลกอะไรที่ฝรั่งมังค่าในยุคกลางจะสวมรองเท้าปลายงอนไปตามๆกัน แต่ทว่าเมื่อลอกเลียนแบบคนตะวันออกไปใช้แล้ว คงอายว่าไม่มีไอเดียของตนกระมัง จึงดัดแปลงปลายรองเท้าให้ยาวเฟื้อยยิ่งกว่าต้นตำรับเดิม ยาวเสียจนคนสวมต้องจับปลายรองเท้าไปผูกไว้ใต้เข่า เพราะปลายรองเท้านั้นยาวเรียวแหลมตั้ง 2 ฟุต
ทีนี้คงทราบแล้วนะครับว่าแบบรองเท้าสมัยใหม่ที่นายกรีนวูดส์แกออกแบบมาน่ะ ได้ไอเดียมาจากรองเท้าปลายแหลมในยุคกลางนี่เอง แสดงว่าของอะไรที่ว่าใหม่ๆ จะว่าไปแล้วหาใช่ใหม่เอี่ยมเรี่ยมเร้ เสมอไปหรอกครับ
แฟชั่นรองเท้าเปลี่ยนไปยังกับหน้ามือเป็นหลังเท้าในราว 500 ปีต่อมา แฟชั่นรองเท้าเปลี่ยนจากปลายยาวแหลมเปี๊ยบเป็นปลายสั้นทู่มะลู่และบานแผ่พิลึก คน ในยุคนั้นเรียกรองเท้าร่วมสมัยว่าเป็นแบบ “อุ้งตีนหมี” บ้าง “ปากเป็ด” บ้าง ผู้นำแฟชั่นคนสำคัญคือพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ ที่นิยมฉลองพระบาทแบบนี้ยิ่งกว่าใครๆ ก็เพราะพระองค์น่ะทรงทรมานด้วยโรคเกาต์เป็นประจำ ฉลอง พระบาทแบบปลายบานแฉ่งทำด้วยผ้าหรือขนสัตว์นุ่มๆ จึงเหมาะมาก ว่ากันว่าฉลองพระบาทพระเจ้าเฮนรี่ ที่ 8 น่ะ บานแฉ่งถึง 10 นิ้ว ในขณะ ที่รองเท้าคนอื่นบานแค่ 6 นิ้วเอง


สตรีในสมัยนั้นไม่ได้สวมรองเท้าบานแฉ่งเป็นอุ้งตีนหมีด้วยหรอก แต่ สวมรองเท้าที่เรียกว่า “ชอฟีนส์” (Chopines) ซึ่งพิลึกพิสดารกว่ารองเท้าคุณผู้ชายแยะเลย พื้นรองเท้านี้สูงมากครับ บางคู่สูงถึง 2 ฟุต นึกไม่ออกเล้ย...ว่าคุณเธอเดินไปได้ยังไง แต่พอเห็นรูปเข้าก็ร้องอ๋อ กุลสตรีมากยศเหล่านี้เดินคนเดียวตามลำพังไม่ได้หรอก ต้องมีพี่เลี้ยงเดินเคียงกายไปด้วย เพื่อให้ คุณเธอยืนพยุงในยามที่เตาะแตะไปบนพื้นรองเท้าแบบนี้
ผู้ชายในศตวรรษที่ 17 ก็มีแฟชั่นรองเท้าหรู ตอนแรกรองเท้าผู้ชายเป็นแบบบูตสูงเกือบถึงสะโพก เพื่อป้องกันความหนาว ต่อมาแฟชั่นรองเท้าหดสั้นลงและปลายข้างบนก็บานออก เวลาฝนตกใส่ก็สนุกมาก คือมีน้ำฝนขังเป็นลิตรๆเชียวครับ แต่ก็มีประโยชน์ตรงใช้เก็บสมบัติส่วนตัว รองเท้าปลายบานแบบนี้มักประดับประดาด้วยลูกไม้และริบบิ้นหรูหรา รับกับหมวกและปกเสื้อที่ประดับลูกไม้เริ่ด



พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ นับเป็นผู้นำแฟชั่นในยุโรป ยุคนั้น ถึงแม้จะยิ่งใหญ่เกรียงไกรเป็น อธิราชผู้ลือพระนาม แต่พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ทรงมีพระวรกายเตี้ยมากครับ คือ สูงแค่ 5 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 163 ซม. เท่านั้น จำเป็นต้องเสริมให้พระวรกายสูงระหงขึ้น ดังนั้น ฉลองพระบาทของหลุยส์ที่ 14 จึงเป็นแบบส้นสูง (มากๆ) ประดับประดาด้วยเพชร, พลอย, ริบบิ้น, โบ ลูกไม้ และรูปเขียน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดโบมาก ฉลองพระบาทคู่โปรดมีโบใหญ่ถึง 16 นิ้วเชียวครับ เท่านั้นยังไม่สมพระทัย พระองค์โปรดให้จิตรกรวาดภาพลงบนส้นฉลองพระบาทคู่โปรด โดยเขียนเป็นรูปเหตุการณ์ในสงครามที่พระองค์ได้พิชิตมา
ในยุคนั้น ข้าราชสำนักไม่ว่าเตี้ยหรือสูงก็พากันสวมรองเท้าส้นสูงตามพระราชนิยมไปตามๆกัน กลายเป็นแฟชั่นรองเท้าผู้ชายแห่งศตวรรษที่ 17 ซึ่งคนยุคหลังเห็นแล้วอมยิ้มไปตามๆกัน ชาติต่างๆล้วนมีรองเท้าอันเป็นเอก-ลักษณ์ประจำชาติแตกต่างกันไป ด้วยรูปทรงแปลกๆตามแต่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชาตินั้นๆ เรียกได้ว่า รองเท้านี้มีวิวัฒนาการและแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของแต่ละยุคสมัย ทั้งยังแสดงตัวตนของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบ การอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีท่านแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีได้ปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีกนอกเหนือจากการผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

ประวัติ
คณะโบราณคดีได้ตั้งขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี โดยมีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เป็นคณบดีคนแรก

ปรัชญา
"ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"

หลักสูตรการศึกษา
ระดับปริญญาบัณฑิต
คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชาเอก คือ สาขาวิชาโบราณคดี,สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,สาขาวิชามานุษยวิทยา,สาขาวิชาภาษาไทย,สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาบาลี,สันสกฤต,เขมร),สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ ยังเปิดสอนอีก 4 วิชาโท คือ ประวัติศาสตร์,พิพิธภัณฑ์สถานวิทยา,มัคคุเทศก์ศึกษา และภาษาฮินดี

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
มี 11 สาขาวิชา คือ โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษยวิทยา จารึกภาษาตะวันออก จารึกภาษาไทย ภาษาสันสกฤต เขมรศึกษา การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ภาษาเพื่อการสื่อสารเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาสันสกฤต สาขาวิชาเขมร โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ

เกร็ด
สีประจำคณะ คือ สีม่วง
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2548 คณะโบราณคดี วิชาเอกภาษาไทย เป็นสาขาวิชาที่มีผู้เลือกสมัครมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะโบราณคดี เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีความเด่นทางและเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการจัดอันดับของสมาคมฝรั่งเศส
ปี 2549 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีศักยภาพการเรียนการสอนเป็นอันดับ 9 ของกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากการจัดอันดับของ สกอ.