วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบ การอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีท่านแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีได้ปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีกนอกเหนือจากการผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

ประวัติ
คณะโบราณคดีได้ตั้งขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี โดยมีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เป็นคณบดีคนแรก

ปรัชญา
"ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"

หลักสูตรการศึกษา
ระดับปริญญาบัณฑิต
คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชาเอก คือ สาขาวิชาโบราณคดี,สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,สาขาวิชามานุษยวิทยา,สาขาวิชาภาษาไทย,สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาบาลี,สันสกฤต,เขมร),สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ ยังเปิดสอนอีก 4 วิชาโท คือ ประวัติศาสตร์,พิพิธภัณฑ์สถานวิทยา,มัคคุเทศก์ศึกษา และภาษาฮินดี

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
มี 11 สาขาวิชา คือ โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษยวิทยา จารึกภาษาตะวันออก จารึกภาษาไทย ภาษาสันสกฤต เขมรศึกษา การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ภาษาเพื่อการสื่อสารเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาสันสกฤต สาขาวิชาเขมร โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ

เกร็ด
สีประจำคณะ คือ สีม่วง
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2548 คณะโบราณคดี วิชาเอกภาษาไทย เป็นสาขาวิชาที่มีผู้เลือกสมัครมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะโบราณคดี เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีความเด่นทางและเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการจัดอันดับของสมาคมฝรั่งเศส
ปี 2549 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีศักยภาพการเรียนการสอนเป็นอันดับ 9 ของกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากการจัดอันดับของ สกอ.

ไม่มีความคิดเห็น: